Five Forces Model คือ แนะนำหลักการวิเคราะห์ 5 ปัจจัยคุกคามจากภายนอกฉบับสมบูรณ์

by goodmaterial
five forces model คือ

ในการทำธุรกิจ “ข้อมูล คือ พลัง” โดยเฉพาะข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตไปข้างหน้าได้ เจ้าของกิจการสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลภายในเพื่อประเมินตัวเองได้อย่างสม่ำเสมอ แต่อาจลืมพิจารณาปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผลต่อกิจการ เครื่องมือที่ชื่อว่า Five Forces Model คือ สิ่งที่จะเข้ามาช่วยเติมเต็มข้อมูลให้คุณเห็นสภาพแวดล้อมทางธุรกิจโดยรวมมากขึ้น เพื่อช่วยระบุความสามารถในการทำกำไรและวางกลยุทธ์สำหรับธุรกิจได้อย่างรอบครอบ

ในบทความนี้ Good Material จะมาอธิบายถึง 5 Forces หรือ 5 กลุ่มข้อมูลเพื่อการแข่งขัน ว่าแต่ละปัจจัยคืออะไร ควรพิจารณาในแง่มุมใดบ้าง อะไรคือข้อดี-ข้อเสีย พร้อมยกตัวอย่างครับ

 

Five Forces Model คือ

Five Forces Model คือ เครื่องมือในการวิเคราะห์ตำแหน่งและสภาพแวดล้อมการแข่งขันทางธุรกิจ 5 ด้าน โดยมีจุดประสงค์เพื่อที่คุณสามารถเข้าใจปัจจัยต่าง ๆ ได้อย่างดีและสามารถสร้างแนวป้องกันเพื่อให้ธุรกิจของคุณยังคงได้เปรียบทางการแข่งขันอยู่เสมอ โดยปัจจัยทั้ง 5 ประกอบด้วย

  • อำนาจการต่อรองของลูกค้า (Bargaining Power)
  • อำนาจต่อรองจากคู่ค้า (Power of Suppliers)
  • การคุกคามของผู้ประกอบการรายใหม่ (Threat of New Entrants)
  • การแข่งขันของคู่แข่งในธุรกิจสายงานเดียวกัน (Industry Rivalry)
  • การคุกคามจากสินค้าหรือการบริการทดแทน (Threat of Substitutes)

ในหัวข้อถัดๆ ไปผมจะมาอธิบายอย่างละเอียดถึงแต่ละปัจจัยของ Five Forces Model แต่ก่อนจะถึงส่วนนั้นผมขอเล่าถึงที่มาของ 5 Forces ให้ฟังก่อนนะครับ

ที่มาของ Five Forces Model

Porter’s Five Forces ถูกสร้างขึ้นในปี 1979 โดยคุณ Michael E Porter ศาสตราจารย์จาก Harvard Business School โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยในการวิเคราะห์สภาวะของแต่ละอุตสาหกรรมว่ามีความน่าสนใจเพียงใดและยังสามารถสร้างผลกำไรได้อยู่หรือไม่ หลังจากผลงานชิ้นนี้ได้ตีพิมพ์ Five Forces Model ก็หลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือวิเคราะห์กลยุทธ์ทางธุรกิจที่ได้รับความนิยมที่สุด

เมื่อไหร่ควรใช้ 5 Forces Analysis ?

เจ้าของกิจการส่วนใหญ่มักใช้เวลาไปกับการวิเคราะห์คู่แข่งของคุณว่ากำลังวางแผนอย่างไรและจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจของคุณอย่างไรบ้าง แต่ตลาดรวมถึงคู่แข่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาไม่หยุดนิ่งคุณเองก็ควรปรับตัวอย่างตลอดเวลาเช่นกัน เราได้พิจารณาออกมาว่า 3 ช่วงเวลาที่ธุรกิจควรทำการวิเคราะห์ด้วย 5 Force ได้แก่ :

  • เมื่อคุณเริ่มต้นธุรกิจใหม่ :ใน
  • ในการเริ่มต้นธุรกิจผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วยการทำแผนการตลาด ซึ่งมีเครื่องมือในการวิเคราะห์มากมาย ไม่ว่าจะเป็น SWOT Analysis , Pestle Analysis , STP Marketing และหนึ่งในเครื่องมือที่ขาดไม่ได้คือ Five Forces Analysis เพราะเครื่องมือนี้จะช่วยให้คุณเห็นภาพการแข่งขัน รวมถึงช่องวางในการเติบโตของอุตสาหกรรม ช่องทางการจัดจำหน่าย รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้าหรือบริการกับระดับของการแข่งขัน และเมื่อคุณสามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของตลาดได้แล้วอย่าลืมพิจารณาถึงภัยคุกคามของคู่แข่งรายใหม่ที่จะส่งผลต่อส่วนแบ่งการตลาดของคุณแ

 

องค์ประกอบของ Five Forces Model

 

1. อำนาจต่อรองของลูกค้า (Bargaining Power of Buyers)

อำนาจต่อรองของลูกค้าเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาขายและผลกำไรของบริษัท ในกรณีที่ผู้ซื้อมีอำนาจมากส่งผลให้ลูกค้าสามารถขอต่อรองราคาผู้ขายได้ แต่ถ้าผู้ขายสินค้าหรือบริการมีอำนาจการต่อรองมากกว่าก็จะเกิดความได้เปรียบซึ่งจะส่งผลต่อผลกำไร

อำนาจต่อรองของลูกค้ามีหลายรูปแบบ เช่น การเจรจาสัญญาการเป็นซัพพลายเออร์ขายสินค้าระยะยาว สัญญารับจ้างผลิตหรือจัดหา อำนาจต่อรองด้านราคาที่ได้ยกตัวอย่างไป ในส่วนนี้คุณต้องหาให้เจอครับว่าบริษัทของคุณแตกต่างจากคู่แข่งในด้านใด เพื่อจะสร้างความได้เปรียบจนไม่เสียอำนาจต่อรองกับลูกค้ามากเกินไป และนี้คือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออำนาจต่อรองของลูกค้า

  • ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ : ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ของคุณหรือในตลาดไม่มีความแตกต่างกันทั้งด้านคุณค่าและมูลค่า การแข่งขันจะเป็นเรื่องของราคาผู้ซื้อจะได้เปรียบคุณ โดยเฉพาะในตลาดที่มีคู่แข่งจำนวนมาก ในกรณีนี้คุณต้องสร้างความแตกต่างในสินค้าและบริการเพื่อแตกต่างจากคู่แข่ง
  • ความพร้อมด้านข้อมูลของผู้ซื้อ :

2.อำนาจต่อรองของซัพพลายเออร์

3.การคุกคามของผู้เข้าใหม่

4.การคุกคามของสารทดแทน

5.การแข่งขันระหว่างคู่แข่งที่มีอยู่

 

ข้อดี – ข้อจำกัดของ 5 Forces คือ

ข้อดีของ Five Forces Model คือ : 

  • ความง่ายต่อการทำความเข้าใจ และง่ายต่อการใช้งาน
  • ทั้ง 5 ปัจจัยครอบคลุมประเด็นที่เกี่ยวข้องโดยตรงต่อการเติบโตของธุรกิจ
  • คุณและทีมสามารถทำได้ด้วยตนเอง
  • ช่วยให้คุณเห็นภาพรวมของการแข่งขัน

 

ข้อจำกัดของ Five Forces Model คือ : 

  • ปัจจัยที่วิเคราะห์ทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยภายนอก ไม่มีการวิเคราะห์ปัจจัยภายใน
  • กระบวนการวิเคราะห์สร้างมุมมองระยะสั้ยเท่านั้น แต่ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

 

รายละเอียดแต่ละตัวข้อ 2 / ข้อมูลเสริม 3

ข้อดี ข้อเสีย 4

 

  • หากท่านต้องการนำเนื้อหาหรือข้อมูลจากเว็ปเราไปใช้งานเพื่อเผยแพร่ให้ความรู้โดยไม่มีผลประโยชน์ โปรดติดลิ้งค์เครดิตกลับมาหาเราที่หน้านี้

You may also like

Copyright © 2023 สงวนสิทธิ์ทุกประการ Good Material